ดาวหาง ดาวแห่งการทำลายล้าง
ดาวหาง เป็นวัตถุที่โคจรอยู่ในระบบสุริยะจักรวาลรอบดวงอาทิตย์ เมื่อมันเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จะมีส่วนที่เกิดการระเหิดกลายเป็นแก๊ส ทำให้เกิดแก๊สเละชั้นฝุ่นโดยรอบจนทอดยาวออกไปภายนอก ทำให้เราเห็นเหมือนหาง เป็นเพราะว่าดวงอาทิตย์แผ่แผ่รังสีไปยังนิวเคลียสของดาวหาง
คาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของดาวหางนั้นมีความยาวนานที่แตกต่างกัน มีทั้งคาบการโคจรแค่ไม่กี่ปี 50 – 100 ปี หรือจนถึงหลายร้อย หลายพันปี ดาวหางนั้นมีอายุยาวนานมากจนกระทั่งมีบางส่วนระเหิดกลายเป็นแก๊ส สลายหายไปจนกระทั่งมีลักษณคล้าย ๆ ดาวเคราะห์น้อย โดยจากการวิเคราะห์เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยหลาย ๆดวงเคยเป็นดาวหางมาก่อน
มีการนับจำนวณของงดาวหาง โดยนับจนถึงเดือนพฤษภาคม ใน ค.ศ.2009 มีการค้นพบดาวหางทั้งหมด 3,648 ดวง เป็นดาวหางที่มีคายสั้นหลายร้อยดวง และยังมีการค้นพบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเพียงเศษเสี้ยวนิดเดียวเมื่อเทียบกับดาวหางทั้งหมดเท่านั้น โดยวัตถุที่อยู่ในอวกาศที่มีลักษณะคล้ายๆ กับดาวหางที่อยู่ในระบบสุริยะอยู่มากโดยประมาณ หนึ่งล้านๆชิ้น โดยเฉลี่ยแล้วดาวหางที่เราจะสามารถเห็นด้วยตาเปล่าได้จากโลกของเรามีประมาณไม่ต่ำกว่าหนึ่งดวงต่อปี อาจมีบางดวงที่มองเห็นเพียงเลือนราง
ส่วนใหญ่แล้วดาวหางที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเขาจะเรียกมันว่าดาวหางใหญ่ นอกจากนี้ที่มองของฝนดาวตกก็เกิดจากดาวหางที่โคจรเข้าไปใกล้ดวงอาทิตย์ทำให้สลายหายไปซึงเป็นผลมากจากแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์
ลักษณะทางกายภาพของดาวหางนั้นถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันนั่นก็คือ ส่วนของนิวเคลียส หางและโคม่า
นิวเคลียส นั้นมีขนาดประมาณ 0.5 กิโลเมตรไปจนถึง 50 กิโลเมตร โดยมีส่วนประกอบเป็นหินแข็ง ฝุ่น แก๊สแข็งและน้ำแข็ง นิวเคลียสของดาวหางนั้นมีรูปร่างไม่เป็นทรง บิดเบี้ยว เนื่องจากนิวเคลียสไม่มีมวลมากพอที่จะสามารถกลายเป็นทรงกลมได้
ที่ระบบสุริยะรอบนอก ดาวหางจะอยู่ในสภาพแช่แข็ง เมื่อดาวหางเคลื่อนที่เข้าสู้ระบบสุริยะรอบใน ทำให้เข้าใกล้ดวงอาทิตมากกว่าเดิม ความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำให้แก๊สแข็งระเหิดเป็นไอ หลังจากนั้นจึงปล่อยแก๊สออกมาไปเกาะกับฝุ่นผงที่อยู่ในอวกาศ จึงเกิดม่านทรงกลมขนาดใหญ่ล้อมรอบนิวเคลียสที่เรียกว่า โคม่า
หลังจากนั้นกระแสฝุ่นกับแก๊สทำให้เกิดส่วน “หาง” โดยหางมีรูปแบบแตกต่างกันคือ หางแก๊ส หางพลาสม่า และหางไอออน หางของดาวหางอาจมีควายยาวหลายร้อยล้านกิโลเมตร
ในส่วนของวงโคจรของดาวหางนั้น โดยส่วยใหญ่แล้วเป็นวงรีที่มีความเรียวมากๆ ปลายข้างหนึ่งของวงรีจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ปลายอีกด้านหนึ่งยาวออกไปด้านนอกของระบบสุริยะ